ดอกของมะละกอ

ดอก

ดอกตัวผู้ (male/ staminate)
ดอกตัวผู้มีขนาดเล็กสุด อยู่บนก้านช่อดอกยาวประมาณ 25-100 เซนติเมตร  ช่อดอกห้อยลง ดอกมีลักษณะเล็กยาว กลีบดอกสีขาวเชื่อมติดกันจากโคนดอกขึ้นไปเป็นท่อยาว  และมีส่วนปลายแยกจากกันเป็น 5กลีบ มีเกสรตัวผู้ 10 อัน สั้นยาวคละกัน ตรงกลางดอกจะมีรังไข่เล็กๆ   แต่ไม่มีปลายเกสรตัวเมียที่จะรับเอาละอองเกสรตัวผู้ได้ ดอกตัวผู้จึงไม่สามารถเจริญเป็นผลได้

ดอกก

ดอกตัวเมีย (female/ pistillate)

ดอกตัวเมียมีลักษณะสังเกตง่าย ดอกมีขนาดใหญ่ที่สุด เจริญเติบโตอยู่ติดกับฐานก้านใบ  ไม่ยื่นยาวออกมาเหมือนดอกชนิดอื่น อาจออกเป็นดอกเดี่ยวๆ หรือ 2-3 ดอกรวมกันเป็นกระจุกก็ได้ มีกลีบดอกสีขาว 5กลีบแยกออกจากกันชัดเจนตั้งแต่โคนดอก ไม่มีเกสรตัวผู้ เมื่อคลี่กลีบดอกออกมา จะเห็นรังไข่เป็นกะเปาะสีขาวนวลเล็กๆ มีรูปร่างป้อม ส่วนปลายรังไข่มีที่รองรับละอองเกสรตัวผู้เป็นแฉกเล็กๆ 5 แฉก ดอกตัวเมียต้องอาศัยเกสรตัวผู้จากต้นอื่นมาผสมจึงจะติดผลได้ ผลที่เกิดจากดอกตัวเมียมักมีรูปร่างค่อนข้างกลมหรือกลมรี ลักษณะผลเป็น 5 พูโดยรอบ เนื้อบาง มีช่องว่างภายในผลมาก ไม่เป็นที่ต้องการของตลาดมากนัก  นิยมใช้ประโยชน์ตอนเป็นผลดิบ

ดอกกก

ดอกกะเทย หรือดอกสมบูรณ์เพศ (bisexual/ hermaphrodite)
ดอกกะเทย หมายถึงดอกที่มีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ครบในดอกเดียวกัน ดอกกะเทยเกิดอยู่บริเวณง่ามใบ มีก้านดอกสั้น จะสังเกตเห็นเป็นดอกเล็กๆ ติดกันเป็นกลุ่ม ลักษณะของดอกโดยทั่วไปจะคล้ายกับดอกตัวเมีย แต่มักมีขนาดเล็กกว่า ส่วนโคนของดอกจนถึงส่วนกลางของดอกจะติดกันแล้วจึงไปแยกออกจากกันตอนปลายกลีบ   ภายในประกอบด้วยรังไข่และเกสรตัวผู้ 5-10 ชุด แล้วแต่ประเภทของดอก เกสรตัวเมียของดอกกะเทยอาจได้รับการผสม จากเกสรตัวผู้จากดอกเดียวกัน หรือผสมกับเกสรตัวผู้ของดอกตัวผู้บนต้นกะเทยก็ได้หรืออาจได้รับการผสมจากต้นตัวผู้  และต้นกะเทยต้นอื่นๆ ก็ได้ เมื่อผสมกันติดแล้ว รังไข่จะขยายตัวเป็นผลลักษณะของผลมีหลายแบบ แต่ส่วนมากมักจะเป็นผลที่มีรูปร่างยาว

 

อ้างอิง : http://papayanonsi.blogspot.com

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

วิธีปลูกมะละกอฮอลแลนด์4l

มะละกอเป็นพืชล้มลุกที่มีอายุสั้น แต่สามารถมีชีวิตอยู่ได้นานถึง 20 ปีถ้าได้รับการดูแลที่เหมาะสม   เป็นไม้ผลที่มีระบบรากเป็นรากแก้ว ลำต้นค่อนข้างชุ่มน้ำ เป็นลำชะลูดมีข้อปล้อง   ส่วนมากไม่ค่อยมีกิ่งก้านสาขาทั้งดอกและใบจะเจริญอยู่ที่ส่วนยอดเพียงอย่างเดียว   ในกรณีที่ส่วนยอดถูกตัดหรือทำลายกิ่งจะแตกออกมาจากข้างๆ  และสามารถเจริญเติบโตออกดอกติดผลได้ ความสูงของมะละกออยู่ระหว่าง 2-10 เมตร  ใบมะละกอมีขนาดใหญ่และกว้างประมาณ 25-75เซนติเมตร ก้านใบกลวงและยาวได้ถึง 1 เมตร
แผ่นใบมีลักษณะคล้ายรูปหัวใจ แตกเป็นแฉก 7-11 แฉก   ใบมะละกอจะเจริญจากส่วนยอด ใบล่างจะแก่เป็นสีเหลืองและร่วงหล่นก่อนตามลำดับ  ความเจริญดอกมะละกอมีอยู่หลายชนิด และเป็นสาเหตุที่ทำให้ต้นมะละกอถูกแบ่งออกเป็น 3 เพศ   ซึ่งมีความสำคัญในทางเกษตรกรรมแตกต่างกัน

อ้างอิง : http://papayanonsi.blogspot.com

ชื่อทางวิทยาศาตร์ของมะละกอ

มะละ

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Carica papaya L.

วงศ์Caricaceae
ถิ่นกำเนิด :       มะละกอเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดแถบอเมริกากลาง สันนิษฐานว่าบริเวณเม็กซิโกตอนใต้และประเทศใกล้เคียง    มีบันทึกว่า มะละกอได้แพร่กระจายไปยังปานามาและสาธารณรัฐโดมินิกัน ตั้งแต่ก่อนปี 2068 (1525)     และมะละกอได้แพร่เข้าไปยังฟิลิปปินส์ประมาณปี 2093 (1550)    ก่อนจะแพร่จากที่นั่นเข้าสู่มะละกาและอินเดียในเวลาต่อมาจากบันทึกของนักเดินทางชาวดัทช์    มะละกอน่าจะแพร่จากฟิลิปปินส์ไปมะละกาก่อนปี 2126  (1583)  โดยชาวสเปนหรือโปรตุเกส    ไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดว่ามะละกอจากมะละกาแพร่เข้ามาสู่ส่วนที่เป็นประเทศไทยเมื่อใด   มีเพียงบันทึกที่ผ่านมาว่า ย้อนหลังไปเมื่อประมาณ 60 ปีที่แล้ว ทหารญี่ปุ่นที่เข้ามาเมืองไทย   ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2  ให้ความนิยมชมชอบบริโภคมะละกอไทยกันมาก    ปัจจุบัน การปลูกมะละกอได้แพร่กระจายออกไปทั่วโลก   โดยเฉพาะในแถบศูนย์สูตร ระหว่าง 32 แลทติจูด เหนือ-ใต้   และในส่วนของประเทศไทย    มะละกอได้กลายมาเป็นพืชอาหารที่มีบทบาทสำคัญต่อคนไทยทุกครัวเรือน   และมีการปลูกกันอย่างแพร่หลายไปทั่วทุกภูมิภาค

 

 

อ้างอิง : http://papayanonsi.blogspot.com

มะละกอ

papaya

เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลาง และได้แพร่กระจายไปสู่ส่วนต่างๆ ของโลกตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา  มะละกอได้แพร่เข้าสู่มะละกาเมื่อประมาณกว่า 400 ปีที่แล้ว  และสันนิษฐานว่าน่าจะแพร่เข้าสู่ส่วนที่เป็นประเทศไทยหลังจากนั้น  มะละกอเป็นพืชที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็นราก ลำต้น ใบ ผล เมล็ด รวมทั้งส่วนที่เป็นน้ำยาง   ในส่วนของการนำมาใช้เป็นอาหาร การบริโภคมะละกอสามารถทำได้ทั้งรูปแบบของผักและผลไม้   แต่รูปแบบที่นิยมแพร่หลายทั่วโลก คือ การนำผลสุกมาบริโภคแบบผลไม้    ขณะที่การบริโภคแบบผักมีสัดส่วนไม่มากนัก การนำผลดิบมาบริโภคเป็นที่นิยมเฉพาะในบาง   ท้องถิ่นเท่านั้น นอกจากนี้ ในส่วนของใบ ลำต้น หรือแม้แต่ช่อดอกตัวผู้ ก็มีการนำมาปรุงเป็น  อาหารเช่นกันในส่วนของการนำมาใช้ประโยชน์อื่น มะละกอยังมีคุณสมบัติในการรักษาโรค
เช่น อาการที่เกี่ยวข้องกับระบบย่อยอาหาร ระบบขับถ่าย ระบบสืบพันธุ์ ตลอดจนโรคผิวหนังบางชนิด ฯลฯ
ในภูมิภาคต่างๆ ของโลกล้วนมีประวัติการนำราก ใบ เมล็ด และยางมะละกอ   มาใช้เป็นยาสมุนไพรพื้นบ้านตั้งแต่โบราณนอกจากสารอาหารสำคัญ เช่น วิตามินซี วิตามินบี และเบต้าแคโรทีน ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพแล้ว   ในมะละกอยังมีสารประกอบอื่นๆ จำนวนมาก ที่สำคัญและเป็นที่รู้จักกันดี คือ “ปาเปน”
ซึ่งเป็นเอ็นไซม์ย่อยโปรตีนพบได้ในน้ำยางมะละกอ ปัจจุบัน มีการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอย่างกว้างขวาง   ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมอาหารเครื่องสำอาง และเคมีต่างๆมะละกอเป็นพืชที่ชอบน้ำ   ชอบแสงแดดและทนแล้งได้ดี จึงเป็นพืชที่ปลูกกันทั่วไปในเขตร้อนและเขตกึ่งร้อนกว่า 50 ประเทศทั่วโลก อย่างไรก็ตาม มะละกอในแต่ละท้องถิ่นแต่ละภูมิภาค จะมีลักษณะเฉพาะตัวสูง  ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของลำต้น การเจริญเติบโตระยะเวลาออกดอกติดผล รูปทรง ขนาดของผล   ตลอดจนสีของเนื้อเมื่อสุก ล้วนมีความแตกต่างหลากหลายอย่างยิ่งลักษณะเด่นของมะละกอ   คือการมีเพศแยกกันในแต่ละต้น ต้นมะละกอต้นหนึ่งอาจเป็นต้นตัวเมีย ต้นตัวผู้ หรือต้นกะเทยก็ได้   การผสมข้ามของมะละกอจึงมีโอกาสเกิดขึ้นง่ายในสภาพธรรมชาติ

ดังนั้น มะละกอจึงเป็นพืชที่พร้อมจะกลายพันธุ์ตลอดเวลา และหาพันธุ์แท้ได้ยากโรคและแมลงศัตรู

ของมะละกอมีหลายชนิด แต่ที่จัดเป็นอุปสรรคสำคัญในการผลิตมะละกอเป็นการค้าทั่วไป

ได้แก่ โรคจากเชื้อราบางชนิด และโรคจากไวรัสจุดวงแหวน

อ้างอิง : http://papayanonsi.blogspot.com